เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 3. ขัชชนียวรรค 7. ขัชชนียสูตร

บัดนี้ เราถูกเวทนาเคี้ยวกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกเวทนาเคี้ยวกินแล้ว
เหมือนกับที่ถูกเวทนาที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ ก็เราเองพึงชื่นชมเวทนาที่
เป็นอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกเวทนาเคี้ยวกิน เหมือนกับที่ถูกเวทนา
ที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ไม่มีความอาลัย
ในเวทนาที่เป็นอดีต ไม่ชื่นชมเวทนาที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับเวทนาที่เป็นปัจจุบัน
บัดนี้ เราถูกสัญญาเคี้ยวกินอยู่ ฯลฯ
บัดนี้ เราถูกสังขารเคี้ยวกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกสังขารเคี้ยวกินแล้ว
เหมือนกับที่ถูกสังขารที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ ก็เราเองพึงชื่นชมสังขารที่
เป็นอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกสังขารเคี้ยวกิน เหมือนกับที่ถูกสังขาร
ที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ไม่มีความอาลัย
ในสังขารที่เป็นอดีต ไม่ชื่นชมสังขารที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสังขารที่เป็นปัจจุบัน
บัดนี้ เราถูกวิญญาณเคี้ยวกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกวิญญาณเคี้ยวกิน
แล้ว เหมือนกับที่ถูกวิญญาณที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ ก็เราเองพึงชื่นชม
วิญญาณที่เป็นอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกวิญญาณเคี้ยวกิน เหมือน
กับที่ถูกวิญญาณที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว
ไม่มีความอาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต ไม่ชื่นชมวิญญาณที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :122 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 3. ขัชชนียวรรค 7. ขัชชนียสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกล
หรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า ทำให้พินาศ ไม่ก่อ ละทิ้ง ไม่ถือมั่น
เรี่ยราย ไม่รวบรวมไว้ ทำให้มอด ไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :123 }